Search
Close this search box.

ไม่มีสินค้าในตะกร้า

No products in the cart.

100% Secure Checkout!
0
Search
Close this search box.

ไม่มีสินค้าในตะกร้า

No products in the cart.

100% Secure Checkout!
฿ 0

News

โรคออฟฟิศซินโดรมภัยเงียบที่มาไม่รู้ตัว

โรคออฟฟิศซินโดรมภัยเงียบที่มาไม่รู้ตัว
นอนไม่หลับ ปวดหลัง ปวดบ่า ปวดไหล่ อาการเหล่านี้ อาจเข้าข่ายออฟฟิศซินโดรม

   หากคุณเป็นมนุษย์ออฟฟิศไม่ว่าจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงที่ทุ่มเททั้งเวลา แรงใจและแรงกายในการทำงาน จนเริ่มมีอาการปวดตามหลัง ไหล่ คอ ปวดหัว ปวดตา จนพาลให้นอนไม่หลับแล้วล่ะก็ อย่าได้มองข้ามเชียว เพราะอาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการของโรค “ออฟฟิศซินโดรม” ซึ่งถ้าปล่อยไว้ไม่รักษา หรือป้องกันตั้งแต่ต้น ก็อาจกลายเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพในภายหลังได้

    สังคมในปัจจุบันหนุ่มสาววัยทำงานต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานตลอดเวลาจนแทบไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือความเครียดจากการทำงานที่ต้องเร่งรีบให้ทันท่วงที แถมบางคนยังต้องทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่ค่อยได้พัก สิ่งเหล่านี้เองที่ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ ทั้ง หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ หรือที่เรียกว่า “โรคออฟฟิศซินโดรม”

อาการของโรคออฟฟิศซินโดรม

1. ปวดตึงบริเวณ คอ บ่า ไหล่ จากการนั่งท่าเดิมนานๆ

2. มือชา เอ็นอักเสบ นิ้วล็อค ที่พัฒนามาจากอาการปวดเรื้อรัง จนเกิดการอักเสบ เส้นประสาทตึงตัว

3. อาการปวดศีรษะไมเกรน ปวดร้าวถึงตา หรือปวดกระบอกตา เนื่องจากการใช้สายตามาก
มีความเครียด
สะสม

4. อาการเหน็บชาและแขนขาอ่อนแรง เกิดจากการนั่งนานเกินไป จนการไหลเวียนเลือดผิดปกติ

5. นอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิท เกิดจากความเครียด หรือจากอาการปวดมารบกวนเป็นระยะๆ

หากมีอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมแต่ยังคงเพิกเฉยไม่เปลี่ยนพฤติกรรมหรือทำการรักษา อาจะเสี่ยงนำไปสู่อาการที่อันตรายขึ้นได้เช่น

– เสี่ยงต่อการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังคดและแขนขาอ่อนแรง ถ้ารุนแรงมากอาจทำให้เดินไม่ได้ ต้องทำกายภาพบำบัด หรือผ่าตัดเลยทีเดียว

– เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า อันมาจากความเครียดสะสม ความกดดัน และบรรยากาศไม่ดีในที่ทำงาน

– เสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง จากการทานอาหารจุบจิบในเวลาทำงาน และไม่มีเวลาออกกำลังกาย

การรักษาออฟฟิศซินโดรม

1. การรักษาด้วยยา

2. การรักษาด้วยวิธีทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูและการทำกายภาพบำบัดเพื่อยืดกล้ามเนื้อและปรับอิริยาบถ
    ให้ถูกต้อง

3. การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกาย

4. การรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือกอื่น เช่น การฝังเข็ม

5. การฉีดโบท็อกซ์ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ 

   โบท็อกซ์ หรือ มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า โบทูไลนุม ท็อกซิน เป็น Nuerotoxin ที่สร้างโดยเชื้อแบคทีเรียคอสตริเดียม โบทูไลนุม (Clostridium botulinum) สารตัวนี้มีผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยออกฤทธิ์ลดการหลั่งอะซีทิลโคลีน  (Acetyl Choline) ที่ Neuromuscular  junction

   โบท็อกซ์ ได้นำมาใช้ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 เพื่อรักษาอาการตาเหล่ และต่อมาได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง และได้ผลดีมากโดยเฉพาะเพื่อรักษา กล้ามเนื้อเกร็งผิดปกติ เช่น โรคเกร็งบิด (Dystonia) โรคตากะปริบ และ โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก (ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อย) , อาการปวด, อาการเกร็งของกล้ามเนื้อหลัง โรคอัมพฤกษ์ เป็นต้น

 

ข้อดี ของการรักษาลดการเกร็งของกล้ามเนื้อด้วยโบท็อกซ์

1. เป็นวิธีที่ปลอดภัย ไม่ใช่วิธีการผ่าตัด จึงไม่ต้องเสี่ยงกับการดมยาสลบ

2. สามารถปรับปริมาณยาตามความรุนแรงของโรคได้

3. ผลข้างเคียงอาจพบได้เพียงเล็กน้อยเช่น การอ่อนกำลังของกล้ามเนื้ออื่นๆ ซึ่งจะเป็นอยู่ชั่วคราวและหายไปได้เอง

4. ได้รับการยอมรับในทางการแพทย์

5. เป็นวิธีการรักษาที่ไม่ยุ่งยาก และ สามารถทำได้ที่ห้องตรวจ ไม่ต้องทำในห้องผ่าตัด

6. ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ

 

ข้อจำกัดของการรักษาด้วยวิธีนี้

1. ผลดีจากการรักษามีระยะเวลาสั้น ประมาณ 3-4 เดือน จึงต้องมาติดตามรักษาอย่างต่อเนื่อง

2. อาจมีการอ่อนกำลังของกล้ามเนื้ออื่นที่ไม่ต้องการได้

3. ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

ทีมแพทย์สตาร์คลินิก มีประสบการณ์ด้านผิวพรรณและศัลยกรรมความงามมากกว่า 10 ปี

 

เปิดบริการทุกวัน เวลาทำการ 11.00 – 21.00 น.

 

ปรึกษาหรือสอบถามโปรโมชั่น โทร. 088-004-0005

Share

Facebook
Twitter
WhatsApp