ลดเส้นเลือดขอด
(Varicose Veins)
โรคเส้นเลือดขอด (Varicose Veins) เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นส่วนของลิ้นที่ทำหน้าที่
เปิดปิดส่งเลือดจากขาขึ้นไปสู่หลอดเลือดดำใหญ่ ความผิดปกตินี้เป็นตัวการที่ทำให้เลือด ไม่สามารถลำเลียงเข้าสู่หัวใจได้ทั้งหมด
เกิดการย้อนกลับมา ค้างอยู่ในหลอดเลือดทำให้มีลักษณะคดเคี้ยวจนผิดปกติ
เส้นเลือดขอด ไม่ใช่แค่เส้นฝอย
เส้นเลือดขอด ถึงแม้ว่าไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เพราะบางคนอาจปวดบริเวณที่ขอดจนนั่งไม่ได้ ยืนนานไม่ได้เลยทีเดียว
ซึ่งก็มีหลายคนอาจคิดว่าเส้นเลือดขอดเป็นแค่เส้นฝอยเล็ก ๆ แต่ความจริงแล้วมี 2 ระดับ ดังนี้
ระดับ 1 : เส้นเลือดขอดแบบฝอย แตกเป็นเส้นเล็ก ๆ ลักษณะคล้ายแพใยแมงมุม มีขนาดเล็กสีม่วง หรือแดง บางคนแทบไม่มีอาการเจ็บปวด
หรือเมื่อยล้าจุดที่เป็น
ระดับ 2 : เส้นเลือดขอดตัวหนอน เส้นเลือดโป่งพองขนาดใหญ่ เกิดจากผนังเส้นเลือดบาง ทำให้เส้นเลือดพองและขดเป็นหยักอาจมีสีเขียวผสมม่วง เส้นเลือดจะโป่งนูนออกมาเป็นขดๆ ชัดเจน พร้อมมีอาการเมื่อยล้า เจ็บปวดบริเวณเส้นเลือดขอด ซึ่งถือว่าอยู่ในขั้นที่ต้องรักษา
และอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นตามมาได้
เส้นเลือดขอด ปัญหาใกล้ตัวที่หลายคนมองข้าม
เส้นเลือดขอด หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเพียงปัญหาเรื่องความไม่สวยงามที่เกิดขึ้นกับร่างกายและละเลยที่จะรักษา แต่จริง ๆ แล้วหากปล่อยไว้
อาจมีโอกาสเกิดการอักเสบรุนแรง และนำไปสู่การเกิดแผลได้
สาเหตุของการเกิดเส้นเลือดขอด
เกิดจากผนังหลอดเลือดและลิ้นควบคุมการไหลของเลือดมีความอ่อนแอ ซึ่งโดยปกติภายในหลอดเลือดดำจะมีลิ้นเล็ก ๆ คอยเปิดให้เลือดไหลผ่าน และปิดป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับไปสู่ส่วนล่างของร่างกาย แต่ถ้าผนังหลอดเลือดขยายตัวออกจนสูญเสียความยืดหยุ่น จะทำให้ลิ้นที่คอยเปิดปิดนี้อ่อนแอลง ส่งผลให้มีเลือดรั่วออกมาและไหลย้อนกลับไปที่ส่วนล่างของร่างกาย โดยเฉพาะการยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน จะส่งผลให้เลือด
จากส่วนล่างของร่างกาย ไหลย้อนกลับไปที่หัวใจได้ยากขึ้น และทำให้เลือดสะสมในหลอดเลือดและเกิดอาการบวมพองตามมา
ซึ่งอาจมีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดดังต่อไปนี้
เพศหญิง เส้นเลือดขอดมีโอกาสเกิดขึ้นในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงจะไปทำให้ผนังหลอดเลือดคลายตัวลง
และส่งผลให้มีโอกาสเกิดการรั่วของลิ้นหลอดเลือด
พันธุกรรม ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นเส้นเลือดขอด จะยิ่งมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากขึ้น
อายุ อายุเพิ่มมากขึ้น หลอดเลือดจะเริ่มหลวมและหย่อนตัวลง เป็นเหตุให้ลิ้นหลอดเลือดทำงานได้ไม่ดี
น้ำหนักตัวมาก จะทำให้เกิดแรงดันบนหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ส่งผลให้เกิดแรงดัน
ที่ลิ้นหลอดเลือดสูงขึ้นและเสี่ยงต่อการรั่วของเลือดยิ่งขึ้น
การยืนเป็นเวลานาน จะยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดขอด เพราะเลือดจะไหลได้ยากขึ้น
หญิงตั้งครรภ์ ในระหว่างการตั้งครรภ์ปริมาณของเลือดในร่างกายจะเพิ่มสูงขึ้น และนำไปสู่การตึงของหลอดเลือด นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลง
ของระดับฮอร์โมนในหญิงตั้งครรภ์ที่สูงขึ้น ยังสามารถทำให้ผนังกล้ามเนื้อของหลอดเลือดคลายตัวจนลิ้นเปิดปิดเลือดทำงานบกพร่องได้เช่นกัน
6 ระยะเส้นเลือดขอด รักษาถูกวิธี ลดโอกาสเสี่ยงลุกลาม
ความรุนแรงของเส้นเลือดขอด มีความแตกต่างกันในแต่ละระยะ ซึ่งหากได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดโอกาสในการลุกลามของแผลเส้นเลือดขอดได้
เส้นเลือดขอด หรือชื่อในทางการแพทย์คือ โรคหลอดเลือดดำชั้นตื้นบกพร่องเรื้อรัง หมายถึง การที่เส้นเลือดมีการปูดขยายคล้ายตัวหนอน
มากกว่า 3 มิลลิเมตร สาเหตุเกิดจากความเสื่อมของหลอดเลือดดำ ทำให้เกิดแรงดันภายในหลอดเลือด เลือดจึงไหลเวียนกลับไปเลี้ยงที่หัวใจ
ได้ไม่ดีเท่าที่ควร จนเกิดอาการปวดและบวมบริเวณขาในที่สุด
กรรมพันธุ์ เพศ อาชีพ การใช้งาน และโครงสร้างหลอดเลือด ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอดได้ ซึ่งอาการที่พบได้ทั่วไปคือ อาการเจ็บหรือรู้สึกหนักขา, เป็นตะคริวช่วงกลางคืน, บวม ตึง แสบร้อน, รู้สึกเจ็บมากขึ้นเมื่อนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน, คันรอบ ๆ เส้นเลือดเส้นใดเส้นหนึ่ง
หรือหลายเส้น, อาจมีเลือดออกจากเส้นเลือดที่บิดนูน, อาการปวดเส้นเลือดขอด ในเส้นเลือดบริเวณที่ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดง, เส้นเลือดแข็ง
หรือเปลี่ยนสี มีอาการอักเสบของผิวหนัง หรือบางรายอาจเกิดอาการอักเสบรุนแรงจนเกิดแผลได้
ความรุนแรงของอาการเส้นเลือดขอด จะมีความแตกต่างกันในแต่ละระยะ ซึ่งแบ่งเป็น 6 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 เส้นเลือดมีลักษณะคล้ายใยแมงมุม มักมีขนาดน้อยกว่า 3 มิลลิเมตร
ระยะที่ 2 เส้นเลือดเริ่มปูดเป็นตัวหนอน ขนาดใหญ่มากกว่า 3 มิลลิเมตร และมีอาการปวดเมื่อใช้งานเป็นระยะเวลานาน เช่น นั่ง เดิน หรือ ยืน
ระยะที่ 3 เริ่มมีอาการขาบวม และปวดมากขึ้นถึงแม้จะใช้งานในระยะเวลาสั้น ๆ
ระยะที่ 4 สีผิวที่ขาเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำเข้มขึ้น ซึ่งเป็นภาวะอักเสบของผิวหนัง
ระยะที่ 5 แผลหายจากการรักษา แต่ยังมีลักษณะอื่น ๆ ร่วม เช่น ผิวหนังที่เปลี่ยนสีเป็นสีดำ
ระยะที่ 6 เกิดแผลที่เป็นลักษณะเฉพาะของแผลบริเวณหลอดเลือดดำ เช่น ขอบแผลแดง
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด คือการให้ยาลดการอักเสบของหลอดเลือดดำ หรือ การใส่ถุงน่องเส้นเลือดขอดเพื่อให้เลือดภายในหลอดเลือดดำไหลกลับคืนสู่หัวใจได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ 2 วิธีนี้ จะช่วยบรรเทาอาการเท่านั้น ไม่สามารถรักษาให้หายได้
ส่วนการรักษาแบบฉีดและ Laser เหมาะสำหรับคนไข้ที่เริ่มมีอาการ ตั้งแต่ระยะ 2 ขึ้นไป โดยในปัจจุบันมีการฉีดและ Laser รักษาแบบแผลเล็ก เส้นเลือดขอดได้ผลดีเทียบเท่ากับการผ่าตัดแบบดั้งเดิม สามารถทำได้ทั้งแบบใช้ความร้อนทำลายหลอดเลือด คือการทำ Laser หรือ ใช้คลื่นวิทยุ
และแบบไม่ใช้ความร้อน คือการฉีดสารเคมี เพื่อเข้าไปทำลายผนังหลอดเลือดดำจนไม่มีเลือดไหลผ่าน ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ
และความปลอดภัยสูงมากกว่าการผ่าตัดแบบเดิมที่ต้องใช้เวลาในการพักฟื้นหลังทำ ที่กำลังได้รับความนิยม ทำให้มีแผลขนาดเล็กประมาณ 2 – 3 มม. เจ็บน้อยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล และเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า
การรักษาแผลเส้นเลือดขอด ถ้ารักษาไม่ถูกวิธี เช่น เจอแผลแล้วทำแค่แผล จะยิ่งทำให้เกิดการลุกลาม แผลอาจมีน้ำเหลืองออกมามากขึ้น
โดยวิธีที่ถูกต้องคือการรักษาแรงดันในหลอดเลือดดำ เพราะถ้าไม่ลดแรงดัน แผลก็จะไม่หาย เพราะฉะนั้นหากพบว่ามีปัญหาเรื่องเส้นเลือดขอด
ควรเข้ามาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องและได้รับการรักษาที่เหมาะสม
ทีมแพทย์สตาร์คลินิก มีประสบการณ์ด้านผิวพรรณและศัลยกรรมความงามมากกว่า 10 ปี
เปิดบริการทุกวัน เวลาทำการ 11.00 – 21.00 น.
ปรึกษาหรือสอบถามโปรโมชั่น โทร. 088-004-0005